วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ประสบการณ์ด้านการเป็นวิทยากร

ประสบการณ์ด้านการเป็นวิทยากร
                ประสบการณ์ที่ได้เป็นวิทยากร ในการอบรม ทำให้มีแนวความคิด และทักษะในการปรับปรุงแก้ไข บทบาท และหน้าที่ การวางตัวของวิทยากร  และวิธีการดำเนินการอบรม ทำให้พยายามคิดค้นวิธีใหม่ ๆ  และทักษะในการนำเสนอ ทั้งที่เป็นรูปแบบสื่อ  จะทำอย่างไรที่ไม่ให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดการไม่เบื่อหน่าย  มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น และน้ำเสียง  ถือว่ามีความสำคัญ เช่น  การเน้นเสียง  การเว้นวรรค ของคำพูด  ความชัดเจนของการออกเสียงอักขระ
            ด้านการเตรียมการเป็นวิทยากร
                  จากที่ได้เข้ารับการอบรมหลายโครงการ ทำให้เกิด ทักษะ และ แนวความคิด หลายอย่าง ในการที่นำมาประยุกต์และปรับปรุงใช้  ในการเตรียมการของวิทยากร  เช่น
                 
1. ศึกษา  ผู้เข้ารับการอบรม  เนื้อหา   และ อุปกรณ์ที่ให้การสนับสนุน
                 
2. สื่อในการนำเสนอ  ควรให้พร้อม ทุกอย่าง เมื่อเกิดปัญหาที่ไม่คาดคิด จะได้แก้ไขปัญหาได้ทัน 
                 
3. ลำดับพิธีการ และขั้นตอนต่าง ๆ ของ กิจกรรม
                 
4. ระยะเวลาในการนำเสนอ  เช่น ควรมีพัก เพื่อผ่อนคลาย ในการให้ผู้เข้ารับการอบรมได้พัก และดำเนินการตามระยะเวลาที่กำหนด
           5.
วิธีการนำเสนอ  หรือ กลยุทธ์การฝึกอบรม ควรให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้ามามีส่วนร่วม  หรือนำกิจกรรม ต่าง ๆ  เช่น การฝึกปฏิบัติ หรือการเล่นเกมส์ เข้ามาสอดแทรก  แต่ควรคำนึงถึงความเหมาะสม 
                
6. แบบฟอร์มการประเมิน  ทั้งประเมินผู้เข้ารับการอบรม และประเมินวิทยากร
          เป้าหมายของการจัดฝึกอบรมของวิทยากร  ยึดหลัก 5 A  สำหรับการฝึกอบรมไว้ย่อ ๆ ดังนี้
            1. Achieve  คือ  ให้ได้รับ ให้บรรลุ ให้มีความสำเร็จในตัวบุคคล
            2. Active     คือ  ให้มีความคล่องแคล่ว แข็งขัน รวดเร็ว กระตือรือร้น
            3. Adapt     คือ   ให้สามารถนำไปปรับ ประยุกต์ ให้เหมาะกับหน้าที่ของตน
            4. Advance คือ  ให้ได้รับความก้าวหน้า ความก้าวกระโดด
            5. Apply      คือ  ให้นำไปใช้ประโยชน์ได้ ให้มีความขยันหมั่นเพียร
          การประเมินผล /และติดตาม
            .จากการดำเนินการอบรมนั้น  ขบวนการที่จะวิเคราะห์ ถึงความสำเร็จ ในการจัดการอบรม คือ การประเมิน  ทั้งการประเมิน ผู้เรียน  ประเมินโครงการ และประเมินวิทยากร  ซึ่งการอบรมนั้นในหน่วยงาน เป็นซึ่งไม่อยากในการประเมิน และติดตามผลงาน คือ การตอบรับจากผู้บังคับบัญชา และเพื่อร่วมงาน  ในการดำเนินการโครงการมีวัตถุประสงค์ เพื่อ ต้องการให้กำลังที่เข้ารับการอบรมได้รับความรู้   มีทักษะ และนำความรู้ที่ได้ไปขยายผล  ให้กับเพื่อนร่วมงาน เพราะฉะนั้นการประเมิน จึงเป็นขบวนการ วิเคราะห์  สังเคราะห์  ถึงผลการดำเนินการอบรม ว่าผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้มากน้อยเพียง  มีความเข้าใจถึงปัญหาและข้อขัดข้อง และทักษะการดำเนินการ ในแก้ไขปัญหาการทำให้กำลังพลนำความรู้นำประสบการณ์ที่ได้เข้ารับการอบรมไปประยุกต์ใช้ในการบริหารงานโดยอาจก่อให้เกิดประโยชน์แก่การบริหารงานในด้านต่างๆ เช่น
            1.เพื่อความสำเร็จของงาน โดยทำให้เกิดความร่วมมือร่วม  ใจในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายได้
            2.ทำให้เกิดแรงจูงใจในการทำงาน มีความสามัคคีกลมเกลียว จงรักภักดีต่อองค์กรทำให้องค์กรเจริญก้าวหน้า
            3.ทำให้ทุกคนมีความรู้สึกของการเป็นพวกเดียวกัน   ทำให้การคบหาสมาคมนั้นเป็นไปด้วยความเข้าใจอันดี  สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุข และมีความพึงพอใจ
            4.ทำให้ง่ายแก่การติดต่อสื่อสารถึงกัน  และยังสามารถใช้เป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ให้ผู้อื่นเข้าใจและยอมรับการปฏิบัติงาน ตลอดจนสามารถใช้เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นจากบุคคลต่างๆ อันจะเป็นผลดีต่อการนำมาซึ่งการปรับปรุงองค์การให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
           5.ทำให้ปัญหาความขัดแย้งในการทำงานลดน้อยลง ทำให้บริหารงานได้ง่ายขึ้น
           6.ทำให้บรรยากาศในการทำงานราบรื่น สามารถร่วมงานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
           ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในหน่วยงาน คือ กำลังพลซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพหรือสายงานที่ปฏิบัติ แต่ขาดความรู้ และความชำนาญ ด้านเทคนิควิธีการถ่ายทอด  ความเข้าใจในลักษณะการใช้อุปกรณ์ภายในหน่วยงาน ให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์มากที่สุด  และยังไม่สามรถแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้ จากประสบการณ์ที่รับการอบรมหลายสาขาหลักสูตร จึงต้องการที่จะถ่ายทอดความรู้  ประสบการณ์  ให้แก่กำลังพลภายในหน่วยได้มีความรู้ มากยิ่งขึ้นและเป็นการพัฒนาตนเองในการเป็นวิทยากร 
            การเป็นวิทยากรที่มีคุณภาพ จึงต้องมีการพัฒนา ตนเอง ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ใหม่ตลอดเวลา  เพราะการศึกษาไม่มีคำว่าสิ้นสุด    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Google