วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ประวัติของบ้านปังกู

                                                                           
                                                             บ้านปังกู
เรื่องเล่า
        ตั้งแต่จำความได้ ตั้งแต่ พ.ศ.2512 คุณย่าทิพย์เล่าให้ฟัง บ้านปังกูมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คนบ้านปังกูเคารพอย่างมาก คือ ตาบลังก์เป็นพื้นที่ไม่กี่ไร่ แต่ที่น่าแปลกคือ ไม่มีแม้กระทั้งเสียงนกร้อง ย่าเล่าให้ฟังว่า ที่แห่งนี้ แม้แต่นกบินผ่านยังตก จึงกลายเป็นป่าดงดิบโดยปริยาย ที่ใครไม่มีกิจอันใด ก้อไม่อยากเข้าไปเลย เมื่อมีงานที่วัด หรืองาน อะไรในหมู่บ้านก้อจะมาไหว้ ตาบลังก์ทุกครั้ง
ตาบลังก์ คือ อะไร
         ผมเองก้อไปดู เป็นเพียงก้อนหินสี่เหลี่ยม ไม่มีรูปปั้น ไม่มีตุ๊กตา อะไรทั้งสิ้น อยู่ในศาลา กลางห้องสี่เหลี่ยม ซึ่งเป็นที่เคารพและยึดเหนียวจิตใจคนบ้านปังกูตลอดมา
แหล่งน้ำธรรมชาติ
         แหล่งน้ำที่หล่อเลี้ยงคนบ้านปังกูสมัยนั้นมีด้วยกันหลายแห่ง คือ
              1. สระน้ำในวัดบ้านปังกู
              2. สระน้ำด้านทิศตะวันตกของหมู่บ้าน ( ตระเปียงตาโปย )
              3. บ่อน้ำลุงฮาด
              4. บ่อน้ำตาคอน
         ซึ่งบ้านปังกูเคยแล้งติดต่อกัน 2 ปีซ้อนที่ให้แหล่งน้ำที่มีแห้งหมด แม้กระทั้งสัตว์เลี้ยง วัว ควายก้อไม่มีน้ำกิน ดังนั้นแหล่งน้ำเล่านี้จึงเป็นที่ใช้ดื่มกินของคน และสัตว์เลี้ยงไปด้วยในขณะนั้น และบ่อน้ำที่เลี้ยงคนหลายหมู่บ้าน เช่นบ้าน เขว้า บ้านโคกวัด บ้านโคกย่าง บ้านห้วย บ้านหัวเสือ และบ้านปังกู คือ บ่อน้ำลุงฮาด เหยียบประโคน ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 2 กม.อยู่กลางทุ่งนา  ภายหลังเกิดภัยแล้งติดต่อกัน น้ำบาดาลในวัดพึ่งมาเจาะให้ภายหลังโดยกรมทรัพยากรธรณี
             
เทศกาลลอกบ่อน้ำกิน
           เมื่อมีภัยแล้งช่วงเดือนเมษายนของทุกปีเข้ามาเยือน น้ำประปาไม่มี ที่มีในขณะนั้นคือน้ำบาดาลที่วัดซึ่งกรมทรัพยากรธรณีได้มาเจาะให้ภายหลังแล้งติดต่อกันมา 2 ปี มีที่เดียว ที่อาศัยอาบ ต้องไปรอคิวกันนิดหนึ่งเพราะคนทั้งหมู่บ้าน บางคนที่อยู่ทางโรงเรียนก้อไปใช้น้ำสระตาโปย ทางทิศตะวันตกหมู่บ้านห่างประมาณครึ่งกิโลเมตร ทั้งน้ำกินน้ำใช้ ตาหวงมาก โรงเรียนก้อต้องไปเอาน้ำที่นั้นมากินกัน ตกตอนเที่ยงจัดเวรไปเอาน้ำ ฝั่งทางวัดจะใช้สระน้ำวัด ถ้าน้ำกิน ก้อบ่อน้ำตาคอน บ่อลุงฮาด
บ้านปังกูเราเคยแล้ง 2 ปีซ้อนติดต่อกัน บ่อน้ำที่สำคัญ เลี้ยงคนได้หลายหมู่บ้าน จึงมีที่เดียว คือ บ่อน้ำที่นาลุงฮาดดังที่เล่า ไม่น่าเชื่อที่สามารถเลี้ยง คนทั้ง บ้านปังกู บ้านเขว้า บ้านโคกวัด บ้านห้วย บ้านหัวเสือ บ่อน้ำนี้ไม่แห้ง มีตาน้ำใหญ่มาก ดังนั้นหมู่บ้านปังกูเรา พอจะเข้าหน้าแล้งจะลงแขกกัน ไปลอกบ่อน้ำ สองแห่ง คือบ่อของตาคอน กับ บ่อลุงฮาด เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม ในเรื่องการใช้น้ำ เรามีอาหารการกินเยอะ ต่างเรียรายบอกกล่าว ถึงวัตถุประสงค์ ที่จะใช้เงินเพราะของกินสมัยนั้นแทบไม่ต้องซื้อเลย เว้นเหล้า 40 เหล้า สาโธบางคนจะทำไว้แล้วมาแจกกันกินวันลอกบ่อกัน เป็นเรื่องที่ปกติ คือการหาบน้ำกินน้ำใช้กัน เด็กผู้หญิง ผู้ชายก้อหาบน้ำเป็น ระยะทางจากบ่อลุงฮาด ถ้าท่านเคยเห็น คิดว่าประมาณ 2-3 กม. เห็นจะได้ บ้านไกลจะใช้เกวียนมาขน บางคนหาบไม่หยุดเลย แต่ผมไม่ไหว หยุดประมาณ 3 ครั้ง ถึงบ้าน นี่คือวิถีชิวิตของการหาแหล่งกักเก็บน้ำของคนบ้านปังกูในสมัยนั้น ต่างอยู่ด้วยความรักสมัครสมานสามัคคี มีอะไรจุลเจือ      ดังนั้นภายหลังที่มีถนนลูกรังจากบ้านปังกูไปบ้านเขว้า,ไปประโคนชัย การขนน้ำเริ่มมีการพัฒนาขึ้นใช้รถเข็นสำหรับคนที่พอมีอันจะกิน จะเห็นได้ว่าสมัยนั้นการที่จะซื้ออะไรแต่ละอย่างค่อนข้างละลำบาก

การคมนาคมบ้านปังกู
             เส้นทางสมัยนั้นจะใช้เกวียนเป็นหลัก ถ้าหน้าฝนจะกลายเป็นคลองส่งน้ำโดยปริยาย
( ปลาย )ความลำบาก คือ กลางหมู่บ้านนี่แหละ ลงสี่แยกเมื่อไหร่ ก้อแสนทรมานแล้วละ แยกลงไปทางห้วย (ทิศเหนือ) จะเห็นว่าเป็นทางลง สมัยนั้นขี้โคลนลึกมาก วัวควาย ยังเดินลำบากเกวียนก้อสุดแสนจะทรหด ทางออกหมู่ไปทางหัวช้าง(ทิศใต้) ก้อลงเนินเหมือนกัน แต่ทางนี้โคลนไม่ลึกมากเท่าไหร่ พอเดินได้ พ้นหมู่บ้านเป็นคลอง และป่าทึบ ทิศตะวันออกเส้นทางไปบ้านเขว้า เป็นคลอง

อ้างถึง
         จากประสบการณ์ผู้เขียนเองเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นจึงเป็นประสบการณ์ และวิถีชีวิตตรงในสมัยนั้นของผู้เขียนเอง ที่มีส่วนร่วมกิจกรรม และประจักด้วยสายตา และประสบด้วยตนเอง จากปี พ.ศ.2512 -2535 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตชุมชนคนชนบท สู่ชุมชนคนเมือง

2 ความคิดเห็น:

Google