วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ประสบการณ์ด้านการเป็นวิทยากร

ประสบการณ์ด้านการเป็นวิทยากร
                ประสบการณ์ที่ได้เป็นวิทยากร ในการอบรม ทำให้มีแนวความคิด และทักษะในการปรับปรุงแก้ไข บทบาท และหน้าที่ การวางตัวของวิทยากร  และวิธีการดำเนินการอบรม ทำให้พยายามคิดค้นวิธีใหม่ ๆ  และทักษะในการนำเสนอ ทั้งที่เป็นรูปแบบสื่อ  จะทำอย่างไรที่ไม่ให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดการไม่เบื่อหน่าย  มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น และน้ำเสียง  ถือว่ามีความสำคัญ เช่น  การเน้นเสียง  การเว้นวรรค ของคำพูด  ความชัดเจนของการออกเสียงอักขระ
            ด้านการเตรียมการเป็นวิทยากร
                  จากที่ได้เข้ารับการอบรมหลายโครงการ ทำให้เกิด ทักษะ และ แนวความคิด หลายอย่าง ในการที่นำมาประยุกต์และปรับปรุงใช้  ในการเตรียมการของวิทยากร  เช่น
                 
1. ศึกษา  ผู้เข้ารับการอบรม  เนื้อหา   และ อุปกรณ์ที่ให้การสนับสนุน
                 
2. สื่อในการนำเสนอ  ควรให้พร้อม ทุกอย่าง เมื่อเกิดปัญหาที่ไม่คาดคิด จะได้แก้ไขปัญหาได้ทัน 
                 
3. ลำดับพิธีการ และขั้นตอนต่าง ๆ ของ กิจกรรม
                 
4. ระยะเวลาในการนำเสนอ  เช่น ควรมีพัก เพื่อผ่อนคลาย ในการให้ผู้เข้ารับการอบรมได้พัก และดำเนินการตามระยะเวลาที่กำหนด
           5.
วิธีการนำเสนอ  หรือ กลยุทธ์การฝึกอบรม ควรให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้ามามีส่วนร่วม  หรือนำกิจกรรม ต่าง ๆ  เช่น การฝึกปฏิบัติ หรือการเล่นเกมส์ เข้ามาสอดแทรก  แต่ควรคำนึงถึงความเหมาะสม 
                
6. แบบฟอร์มการประเมิน  ทั้งประเมินผู้เข้ารับการอบรม และประเมินวิทยากร
          เป้าหมายของการจัดฝึกอบรมของวิทยากร  ยึดหลัก 5 A  สำหรับการฝึกอบรมไว้ย่อ ๆ ดังนี้
            1. Achieve  คือ  ให้ได้รับ ให้บรรลุ ให้มีความสำเร็จในตัวบุคคล
            2. Active     คือ  ให้มีความคล่องแคล่ว แข็งขัน รวดเร็ว กระตือรือร้น
            3. Adapt     คือ   ให้สามารถนำไปปรับ ประยุกต์ ให้เหมาะกับหน้าที่ของตน
            4. Advance คือ  ให้ได้รับความก้าวหน้า ความก้าวกระโดด
            5. Apply      คือ  ให้นำไปใช้ประโยชน์ได้ ให้มีความขยันหมั่นเพียร
          การประเมินผล /และติดตาม
            .จากการดำเนินการอบรมนั้น  ขบวนการที่จะวิเคราะห์ ถึงความสำเร็จ ในการจัดการอบรม คือ การประเมิน  ทั้งการประเมิน ผู้เรียน  ประเมินโครงการ และประเมินวิทยากร  ซึ่งการอบรมนั้นในหน่วยงาน เป็นซึ่งไม่อยากในการประเมิน และติดตามผลงาน คือ การตอบรับจากผู้บังคับบัญชา และเพื่อร่วมงาน  ในการดำเนินการโครงการมีวัตถุประสงค์ เพื่อ ต้องการให้กำลังที่เข้ารับการอบรมได้รับความรู้   มีทักษะ และนำความรู้ที่ได้ไปขยายผล  ให้กับเพื่อนร่วมงาน เพราะฉะนั้นการประเมิน จึงเป็นขบวนการ วิเคราะห์  สังเคราะห์  ถึงผลการดำเนินการอบรม ว่าผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้มากน้อยเพียง  มีความเข้าใจถึงปัญหาและข้อขัดข้อง และทักษะการดำเนินการ ในแก้ไขปัญหาการทำให้กำลังพลนำความรู้นำประสบการณ์ที่ได้เข้ารับการอบรมไปประยุกต์ใช้ในการบริหารงานโดยอาจก่อให้เกิดประโยชน์แก่การบริหารงานในด้านต่างๆ เช่น
            1.เพื่อความสำเร็จของงาน โดยทำให้เกิดความร่วมมือร่วม  ใจในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายได้
            2.ทำให้เกิดแรงจูงใจในการทำงาน มีความสามัคคีกลมเกลียว จงรักภักดีต่อองค์กรทำให้องค์กรเจริญก้าวหน้า
            3.ทำให้ทุกคนมีความรู้สึกของการเป็นพวกเดียวกัน   ทำให้การคบหาสมาคมนั้นเป็นไปด้วยความเข้าใจอันดี  สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุข และมีความพึงพอใจ
            4.ทำให้ง่ายแก่การติดต่อสื่อสารถึงกัน  และยังสามารถใช้เป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ให้ผู้อื่นเข้าใจและยอมรับการปฏิบัติงาน ตลอดจนสามารถใช้เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นจากบุคคลต่างๆ อันจะเป็นผลดีต่อการนำมาซึ่งการปรับปรุงองค์การให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
           5.ทำให้ปัญหาความขัดแย้งในการทำงานลดน้อยลง ทำให้บริหารงานได้ง่ายขึ้น
           6.ทำให้บรรยากาศในการทำงานราบรื่น สามารถร่วมงานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
           ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในหน่วยงาน คือ กำลังพลซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพหรือสายงานที่ปฏิบัติ แต่ขาดความรู้ และความชำนาญ ด้านเทคนิควิธีการถ่ายทอด  ความเข้าใจในลักษณะการใช้อุปกรณ์ภายในหน่วยงาน ให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์มากที่สุด  และยังไม่สามรถแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้ จากประสบการณ์ที่รับการอบรมหลายสาขาหลักสูตร จึงต้องการที่จะถ่ายทอดความรู้  ประสบการณ์  ให้แก่กำลังพลภายในหน่วยได้มีความรู้ มากยิ่งขึ้นและเป็นการพัฒนาตนเองในการเป็นวิทยากร 
            การเป็นวิทยากรที่มีคุณภาพ จึงต้องมีการพัฒนา ตนเอง ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ใหม่ตลอดเวลา  เพราะการศึกษาไม่มีคำว่าสิ้นสุด    

ฝึกปฏิบัติการเป็นวิทยากรจากสถานการณ์จำลอง

          การฝึกการปฏิบัติเป็นวิทยากรครั้งนี้  สิ่งที่ต้องเตรียมการ และวางแผนการดำเนินงานให้เป็นรูปธรรม คือ การเตรียมตัว เทคนิคการพูด การมีบุคลิกลักษณะที่ใฝ่รู้ ค้นคว้าหาข้อมูล การขวนขวายหาความรู้ และประสบการณ์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ ไม่ชอบอยู่นิ่งกับที่ มีความต้องการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีความมุ่งหวังที่จะให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้อย่างแท้จริง
             การอบรมครั้งนี้ เป็นการจัดการอบรมกำลังของหน่วยเอง จึงไม่ยุ่งยากเกินไป   ในเรื่องสถานที่  อุปกรณ์ในการสนับสนุนแต่สิ่งที่ต้องเตรียมการอย่างมาก คือ เอกสารการอบรมที่จะนำไปบรรยาย คิดค้นกลยุทธ์ต่าง ๆ ว่าจะทำอย่างไรจะให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจ  พูดอย่างไรไม่ทำให้เบื่อ  ทำอย่างไรไม่ทำให้เค้าวิตกกังวลใจ  แตะจะทำอย่างไรทำให้เค้าใฝ่รู้ อยากมีส่วนร่วม
            เทคนิคการพูดอบรมในครั้งนี้ มีกำลังพลหลายส่วนเข้ารับการบรม มีทั้งอาวุโสกว่าและอ่อนอาวุโส  แต่จะทำอย่างไรให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดความอุ่นใจ กล้าถาม กล้าพูด กล้าแสดงออก  เพราะเป็นที่เข้าใจอยู่ว่า บางคนจะไม่กล้าถามต่อหน้าเพื่อฝูงมาก ๆ กลัวเพื่อนจะว่าโง่   หรือขี้สงสัย ซึ่งเป็นที่เข้าใจดี ว่าในสังคมทุกชนชั้น เมื่อมีความสงสัยเกิดขึ้นก็จะกลายเป็นที่เพ่งเล็งของเพื่อนฝูงทันที   วิทยากรจะทำอย่างไรถึงจะไม่ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างวิทยากร กับผู้เข้ารับการอบรม
              1. สร้างปฏิสัมพันธ์ กล่าวทักทาย สร้างความคุ้นเคย เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมไม่รู้สึกอึดอัด   ถึงแม้ว่าจะเป็นกำลังพลภายในหน่วยก็ตาม แต่ด้วยตำแหน่งหน้าที่ และ ความอาวุโสอาจทำให้ไม่กล้าแสดงออกได้
             
2. พูดเปิดใจ  ให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เข้าใจเหตุผลที่เข้ารับการอบรม และสบายใจ
             
3. เดินเข้าหาทุกคนที่เข้ารับการอบรมแล้วสอบถาม แนะนำ ไม่ควรที่จะชี้ ถามหน้าห้อง  เพราะทำให้เค้าไม่กล้าเปิดใจตอบ   แต่ผล  อาจกลับทำให้ผู้เค้ารับการอบรมเบื่อ หรือเกิดการกังวลได้ 
              
4. ควรสรุปคำถามทุกคนที่ถามเมื่อเข้าไปหาคำตอบ  และให้ทุกคนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น โดยไม่เจาะจงบุคคลใด บุคคลหนึ่งให้ตอบ
            สื่อในการนำเสนอ
                  สื่อ ถือเป็นส่วนสำคัญในการขยายความให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เข้าใจ  เพราะฉะนั้นในการอบรมครั้งนี้จึงเป็นการบรรยายด้วยภาพ และบรรยายด้วยอุปกรณ์จริง เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้จับแตะต้องได้   เพราะวิทยากรคิดว่าการมองแค่ภาพอาจจะไม่จดจำเหมือนการสัมผัส เช่น การ์ด
Lan  ถ้าเป็นการมองจากภาพถ่ายไม่ทราบได้เลยว่า ชิ้นส่วนภายในการ์ด Lan   มีส่วนใดบ้างที่เป็นส่วนขับสัญญาณ  หรือสาย Lan  เช่นกัน จึงต้องมีการจับสัมผัส  เมื่อมีการปฏิบัติจริง ผู้เข้ารับการอบรมจะรู้ได้ทันที สิ่งนี้ที่วิทยากรต้องการมากกว่าการบรรยายในภาพถ่าย
            การปฏิบัติในระหว่างอบรม
                 จะมีการปฏิบัติงานเป็นบุคคลมาก กว่าการปฏิบัติเป็นกลุ่ม  เพื่อให้ทุกคนเกิดทักษะในการเรียนรู้ และแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง  เพราะการอบรมครั้งนี้เน้นให้ทุกคนสามารถปฏิบัติ
ได้จริง และเกิดประโยชน์จริง  เพราะมีผลต่อเอกสาร หรือข้อมูลภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เมื่อมีการปฏิบัติงานท้ายชั่วโมง จะสรุปทุกครั้ง และสอบถามปัญหา และเก็บข้อมูลที่เข้าไปแนะนำเป็นบุคคลมาชี้แจงให้ส่วนรวมได้เข้าใจอีก เพราะปัญหาแต่ละเครื่อง แต่ละคนไม่เหมือนกัน  จริงเป็นการร่วมกันรับรู้ปัญหาร่วมกัน  และสามารถแก้ไขปัญหาได้เมื่อเกิดอาการลักษณะที่แนะนำไป      
            ระยะเวลาในการอบรม/สถานที่
            ระยะเวลาและสถานที่ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญเช่นกัน ในการอบรม แต่การจัดการอบรมครั้งนี้แม้จะมีระยะเวลาจำกัด แต่เน้นในการปฏิบัติมากกว่าทฤษฎี  เพื่อให้ปฏิบัติได้จริง และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง แต่สถานที่นั้น เนื่องเป็นการอบรมภายในหน่วยเองจึงเป็นเรื่องไม่ยุ่งยากมากเกินไปในการจัดการอบรม หรือสถานที่ แต่เน้นคืออุปกรณ์ให้การสนับสนุน  เช่นชิ้นส่วนอะไหล่ ในการลองปฏิบัติงานมากกว่า
           เมื่อจบการอบรมจะแจกแบบสอบถามเพื่อเป็นแนวทางที่จะนำไปปรับปรุงแก้ไข และรับทราบปัญหาความต้องการของผู้เข้ารับการอบรม และเมื่อเข้ามารับการอบรมแล้วได้อะไรไปบ้างโดยให้แสดงความคิดเห็นอย่างเสรี  และเปิดกว้าง    
             การประเมินผลการอบรม  เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการนำไปปรับปรุงแก้ไข และทราบ
ถึงปัญหาข้อบกพร่องต่าง ๆ ในการดำเนินการจัดการอบรม
                                                            ( ตัวอย่าง)
                                                แบบสอบถาม

                       โครงการอบรม...................................................
                             ระหว่างวันที่......................................
...........................................................................................................................................
1.ท่านคาดหวังอะไรบ้างในการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้..................................................................................
2
.อะไรที่ได้เกินกว่าความคาดหวัง........................................................................................................
3.อะไรที่ได้น้อยกว่าความคาดหวัง..............................................................................................................
 4.ท่านจะนำสิ่งที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ไปพัฒนางานอย่างไร
..................................................................................................................................................................................................................................................................................
5
.ถ้าจะมีการจัดกิจกรรมเช่นนี้อีก ท่านมีข้อเสนอแนะให้ปรับปรุงส่วนไหนบ้าง

..................................................................................................................................................................................................................................................................................

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ชมบรรยายกาศข้างบ้าน ระยะเวลาที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

ก่อนลงจากบ้านไปเดินชมบรรยากาศข้างหมู่บ้าน

ศาลตาบลังค์สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้านปังกู ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ว่าสภาพ โยรอบศาลจะเปลี่ยนไปอยากมากก้อตามแต่สิ่งที่ยังคงไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ดู ได้เห็น คือก้อนหินในศาลฯ นั้นเอง ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายที่ไม่สามารถหาภาพบรรยายกาศเก่ามาให้ดูได้ เดิมศาลนี้เป็นศาลขนาดใหญ่พอสมควรมีชานยื่นออกมาด้านหน้า ยกพื้นสูงประมาณครึ่งเมตร ปัจจุบันสภาพอย่างที่เห็น

ด้านหน้าศาล

มุมใกล้ ๆ



สิ่งที่ยังคงให้เห็นคือ ต้นมะขาม ต้นนี้ครับที่ยังคงตืนความจำ และเตือนใจให้คิดถึงอดีตเก่า ๆ ที่พากันปีนขึ้นไปเก็บลูกมะขาม อย่างสนุกสนาน

มุมใกล้ ๆ ต้นมะขาม ตั้งแต่จำความได้เห็นต้นมะขามนี้ต้นขนาดนี้แล้ว เพราะฉะนั้น มันคือ ต้นไม้ที่มีอายุยืนนานที่ยังคงไว้ให้เราได้เห็น ไม่กลายเป็นถ่านไป เราควรที่จะอนุรักษ์ไว้อย่างยิ่ง

และแล้วก้อมีศาลาเพิ่มมาแทนป่า เพียงเวลาไม่ถึงปีที่ผู้เขียนได้ไปเดินเล่น


เส้นทางจากหมู่บ้านไปศาลตาบลังค์

จากนั้นจะพาชมทุ่ง ต้นตาลที่ยืนต้นเรียงรายดูสวยงามในอดีต ปัจจุบัน เห็นอย่างที่เห็น


พามาดูหนองน้ำ เรียก หนองถนนยืนยันว่าผู้เขียนเกิดมาก้อได้ยินชื่อนี้แล้ว สมัยนั้นขุดแรงคนในหมู่บ้าน และหมู่บ้านละแวกใกล้เคียง กว้าง 2X1 ลึก 1 เมตร สมัยนั้นหลุ่มละ 60 บาท แพงมาก เพราะเงิน สลึงยังมีค่า ซื้อขนมได้ ที่พูดเพราะผู้เขียนเองยังรับจ้างขุดด้วย แต่สภาพที่เห็นปัจจุบันได้มีการขุดลอกใหม่โดยเครื่องจักรกล สภาพอย่างที่เห็น
มุมข้าง ๆ หนองน้ำ





 สภาพต้นจานที่เคยปีนขึ้นกระโดดลงมาในหนองน้ำ ดีที่ยังเหลือต้นเล็กๆๆ ให้เห็น



ป้ายงบประมาณที่ได้จัดสรร




วันเสาร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

สังคม การเมือง วัฒนธรรม กับการเปลี่ยนแปลง

สังคมชนบท
     กล่าวทั่วไปเป็นสังคมที่อ่อนโยน มีความเป็นกันเอง มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง เป็นสังคมที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันละกัน สำหรับเราคนชนบทหรือที่คนเมืองเรียก "คนต่างจังหวัด" ถ้าคำตลาด คือ คนบ้านนอก นั้นเอง ในหมู่บ้านก้อแบ่งเป็นคุ้ม คุ้มเหนือ คุ้มใต้ คุ้มวัด คุ้มโรงเรียน ตามบริบท แต่คนจะเีรียก ความใกล้ ไกล เรามีการแบ่งปันอาหารการกิน เหมือคำโบราณที่ว่า ปลาตัวเดียวกินได้ทั้งปี เหตุผล เพราะเรามีการแบ่งปันกันและกัน คนข้างบ้านได้ปลามาแบ่งเรากิน พอเราได้แบ่งนั้นคือวิถีชีวิตของคนชนบทบ้านปังกูในอดีตเมื่อ 30ปี นับตั้งแต่จำความได้ (2512)เป็นต้นมา เรามีการดูแลกันและกันทั้งยามเจ็บป่วย คอยช่วยเหลือกัน สมัยนั้นการเดินทางไปโรงพยาบาลต้องเกวียนเท่านั้น ไม่มีถนน ไปตามคลองส่งน้ำสมัยก่อน แต่เราก้อมีความสุข ยามค่ำกินข้าว เสร็จจะจุดตะเกียงน้ำมันก๊าด นัง่คุยกันแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ถามสารทุกข์ สุกดิบ จนดึกแล้วก้อแยกย้ายเข้านอน เมื่อมีงานบุญ งานบวช งานแต่ง งานศพ ฯลฯ จะช่วยกันอย่างเต็มที่ หนุ่มสาว ไปเข็นน้ำที่วัด สมัยนั้นไม่มีปะปา ไม่มีน้ำบาดาลในหมู่บ้าน มีที่วัดที่เดียว
การเมือง
      การเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อาศัยเสียงส่วนใหญ่ไม่มีกาคะแนน ไม่มีการซื้อเสียง คนที่ถูกเลือกให้เป็นส่วนใหญ่คือ เคยเป็นทหารมาก่อน เพราะมีลักษณะความเป็นผู้นำ นั้นคือความคิดสมัยนั้น แต่ที่น่าแปลกคือการเลือก สส. หรือสมาชิกสภาผู้แทน ได้มีการซื้อเสียงแล้วในสมัยนั้น หัวละ 20 บาท ต่อคน หัวคะแนนเดินแจกถึงทุ่งนา ถ้าหน้าดำนา ขยันมาก แล้วรัฐธรรมนูญไม่ได้ช่วยอะไรในการทำนา ไม่ได้นอนแบกประชาธิปไตย หรือกินประชาธิปไตย เพราะชาวไปนา เย็นกลับบ้าน ชีวิต วนแค่นี้
วัฒนธรรม
     การเคารพ การให้เกียรติ เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะการกระทำอะไรที่เป็นสิ่งไม่ดีไม่งามจะรู้กันทั้งหมู่บ้าน ตั้งแต่การ เดินผ่านผู้ใหญ่ การไหว้ การแต่งกาย การพูด การทำงาน ถือเป็นเรื่องสำคัญทีบ่งบอกถึงการสั่งสอนอบรม และตระกูล
     ด้านการทำงาน จะงดใช้แรงงาน วัว ควาย วันพระ เข้าพรรษา จะหยุดทำงานเข้าวัดฟังธรรม การลงแขก ในการช่วยเหลือกันและกัน แรกนาขวัญหลังจากในหลวงลงแรกนาขวัญแล้ว
     ด้านการแต่งกาย ผู้หญิงจะนั่งผ้าถุงหรือผ้าสิ้น เสื้อคอปก แขนสั้น คนแก่ถ้าไปวัดจะมีผ้าสไบเฉียงพาดบ่า ทั้งหญิงและชาย
Google