วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552

มารู้จักบ้านปังกู

ภาพจาก มหาดอทคอม
ประวัติบ้านปังกู

เล่าสู่กันฟัง จาก พ.ศ.2512-ปัจจุบัน
        บทความนี้ผู้เขียนเรียบเรียงเขียนขึ้นด้วยประสบการณ์ตนเอง และในช่วงชีวิตหนึ่งที่อยู่ในบ้านปังกู และจากคำบอกเล่าชองย่าทวด ( ย่าทิพย์) คนรุ่นหลัง ๆ อาจจะไม่รู้จักเลย ก้อว่าได้ ย่าเป็นคนอุทิศที่ดินถวายวัดหนองบัวโคกตั้งวัด ซึ่งเป็นที่ตั้งในปัจจุบันนั้นเองครับ
         "ปังกู" เป็นต้นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง ลูกจะคล้ายลูกมะไฟแต่จะใหญ่กว่าจะหวาน ไม่อมเปี้ยวเหมือนมะไฟ จะมีรสหวานกว่า เมื่อปี พ.ศ. 2517 คงเลือเพียงต้นเดียวเท่านั้น (ผู้เขียนเองได้ไปเก็บมาทานแล้ว ) และเป็นเหตุบังเอิญอย่างมากที่ ช่วงผู้เขียนเริ่มสนใจประวัติความเป็นมาของบ้านปังกู ทั้งวิถีชีวิต และวัฒนธรรมเก่า ๆ ขณะกำลังศึกษา ป.5 ปี พ.ศ.2523  ซึ่งยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนที่น่ารื่นรมณ์แต่สิ่งที่ไม่คงให้เราเหลือไว้นในขณะนั้นคือ "ต้นปังกู" ในขณะนั้นคือ เหลือเพียงต้นเดียว ให้เห็น (สวนใกล้บ้านครูรบ ) ปัจจุบัน คงเหลือแต่ตอ ถึงแม้ว่าต้นไม้จะจากไป แต่ชื่อต้นไม้ก้อยังปรากฏให้เราท่านได้เรียกกัน ว่า "ปังกู"ถึงปัจจุบัน  ถึงแม้อนุชนรุ่นหลังจะไม่เคยรู้จัก ไม่เคยเห็นแต่สิ่งที่ผู้เขียนได้เรียบเรียงนี้เพื่อให้ทุกคนรู้ว่าปังกูคือต้นไม้ยืนต้น ไม่ใช่ปังกูล หรือ ขื่อบ้านเหมือนที่คนรุ่นหลังเข้าใจ สัญลักษณ์ที่ตรึงตราไว้นั้นคือป้ายดอก ปังกูนั้นเอง
         สังคมวัฒนธรรมบ้านปังกู พ.ศ.2512-2545
                  ภาษาที่ใช้เป็นภาษาพื้นบ้าน ภาษาอิสานใต้ หรือเขมร
                  ประชาชน นับถือศาสนาพุธ
                   ความเชื่อถือทางวัฒนธรรม คือ   การเชื่อผีสาง, การดูหมอ (โบล,รำมหมวท),การบูชาสิ่งศักสิทธิ์ประจำหมู่บ้าน (ตาบลังค์),บูชาเมื่อฟ้าผ่าหรือฟ้าลงต้นไม้,การเชื่อเรื่องไสยศาสตร์,ไม่ไถนาวันพระช่วงเข้าพรรษา,
                   ความเชื่อทางประเพณี คือ ประเพณีโดนตา , ประเพณีแรกนาขวัญ (เจาะแสร), ประเพณีดำนาเอาฤกษ์,ประเพณีถากลานเอาฤกษ์,ประเพณีเกี่ยวข้าวเอาฤกษ์ขึ้นฉาง(ยุ้ง),
                   ประเพณีทั่วไปเหมือนทุกหมู่บ้านใกล้เคียง คือ ลงแขกดำนา และเกี่ยวข้าว ประเพณีขึ้นบ้านใหม่, ประเพณีการแต่งงาน,ประเพณีเข้าพรรษา-ออกพรรษา, ประเพณีก่อเจดีย์ทราย,ฯลฯ
         อาชีพของชุมชน 2512-2545
                  เกษตรกร ทำนา
         การคมนาคม พ.ศ.2512-2545
                  เกวียน พ.ศ.2512-2520
                  เกวียน,จักรยาน,รถยนต์โดยสารประจำทาง พ.ศ.2521-2522
                  เกวียน,จักรยาน,จักรยานยนต์ ,รถยนต์โดยสารประจำทาง พ.ศ.2523-2545
                  จักรยาน,จักรยานยนต์ ,รถยนต์โดยสารประจำทาง พ.ศ.2523-2545
         สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ พ.ศ.2512-2519 
                  1. สื่อการเรียน ป.1 ก.ป.1 ข : ใช้กระดานชนวน ป.2-ป.4 สมุดและดินสอ



กระดานชนวน
                
                         สื่อปลูกฝังอุดมการณ์ให้กับเด็กในขณะเรียนนั้นคือรูปภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ เยี่ยมราษฎร์ และภาพของ 14 ตุลาฯ การเรียกร้องประชาธิปไตย แจกซึ่งเป็นสมุดเขียนของคุรุสภา แจกในขณะนั้น ซึ่งจะแจกทุกปีให้กับนักเรียน ป.2 ถึง ป.4 (ยังไม่มี ป.5 ป.6) ทำให้เห็นภาพที่ประทับใจ ปกด้านหลังจะเป็น เพลงสยามมนุสติ
                   2. แสงสว่าง คือ ตะเกียงน้ำมันก๊าด,ตะเกียงแก๊ส,ตะเกียงเจ้าพายุ,


                                                                ตะเกียงเจ้าพายุ



                                                                           ตะเกียงน้ำมันก๊าด



                                                                            ตะเกียงแก๊ส
                                                                         
           สภาพสังคม
                  เป็นสังคมพึ่งพาตนเองเนื่องจากห่างไกลจากตัวอำเภอ และลำบากกับการเดินทางในขณะนั้น การคลอดบุตรใช้หมอตำแยประจำหมู่บ้าน การเจ็บป่วยใช้ยาสมุนไพร โดยใช้ผู้รู้เรื่องยา และการสวดเป่ามนต์ ทางไสยศาสตร์ตามความเชื่อของคนในชุมชน เช่นมีดบาดใช้ยางไม้เถาจืด หรือมีดบาดลึกมากตำรากหญ้าคาปิด ในการห้ามเลือดและรักษา ฯลฯ  เพราะฉะนั้นคนเจ็บป่วยในหมู่บ้านเพียงคนเดียวจะรู้ทั้งหมู่บ้าน จะหมุนเวียนกันมาถามสาระทุกข์กันตามความสนิทคุ้นเคย
                  เน้นการปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานเอง และแลกเปลี่ยน หรือขอกันไม่ต้องซื้อขาย  
 วิวัฒนาการความเปลี่ยนแปลงทางสังคม พศ.2519 
          วัฒนธรรมที่ถูกกลืนโดยกระแสโลกาภิวัฒน์ :บ้านปังกู เป็นชุมชนที่มีความสมัครสมานสามัคคี มีความเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่แก่กัน ซึ่งกันและกัน ฤดูหน้าดำนา หน้าเกี่ยวข้าว นวดข้าว หรือขนข้าวขึ้นยุ้ง(ฉาง) เราจะช่วยเหลือกัน ใครที่ดำนายังไม่เสร็จ พวกเสร็จก่อนก้อจะยกพวกไปช่วยดำ ซึ่งบางครั้งแทบไม่บอกให้เจ้าของรู้ตัวด้วยซ้ำ เกี่ยวข้าวเช่นกัน นี่คือวัฒนธรรมและประเพณี ที่น่าสนใจของบ้านปังกู และ ถ้าวันพระ ช่วงเข้าพรรษา วัวควายจะไม่ไถนา จะปล่อยให้พักผ่อน เจ้าของจะถอดกล้า หรือปั้นคันนาแทน ถ้าคนที่มีที่นาใกล้กันจะเอาข้าวเอากับมาร่วมกินด้วยกัน การพักเที่ยงไม่ต้องมีนาฬิกา ตะวันตรงหัวเมื่อไหร่นั้นคือเที่ยงวันของเรา เพราะฉะนั้น หน้าดำนา หน้าเกี่ยวข้าวจึงเป็นวัฒนธรรมประเพณีที่มีความอ่อนโยน มีงานบุญที่วัดจะมีการช่วยเหลือกันอย่างเต็มกำลังความสามารถทั้ง ผู้เฒา ผู้แก่ และเด็ก โดยไม่คิดเรื่องงานที่บ้าน และไม่ต้องขอร้องหรือประชาสัมพันธ์ทางสาย เพียงผู้ใหญ่บ้านเรียกประชุมจากเสียงเกราะ แจ้งเท่านั้น และตกเย็นเมื่อทานข้าว ทานปลาเสร็จ ต่างจะมานั่งล้อมวงคุยกันกับเพื่อนบ้างข้าง ๆ หรือเดินไปถามไถ่เพื่อนบ้านใกล้เคียง ดังนั้นเรื่องทุกเรื่องในหมู่บ้านจึงกระจายและรู้กันทั้งหมู่บ้าน
         เมื่อความเจริญเขามาเยือน พ.ศ.2519 : 
                    ไฟฟ้าเข้า ขณะที่ผู้เขียนเรียนอยู่ ประถมศึกษาปีที่ 2 หรือ ป.2 ดีใจที่มีไฟฟ้าใช้ไม่ต้องจุดตะเกียง ทุกคนเริ่มสนุกกับการมีไฟฟ้าใช้ในบ้าน การแลกเปลี่ยนเดินพูดคุยเริ่มลดลงเพราะจะไปกระจุกกับบ้านๆ เดียว ที่มีทีวี ซึ่งขณะนั้นหมู่บ้านมีโทรทัศน์หรือ ทีวี จำนวน 4 เครื่อง เหมือนมุมมองย้อนกลับ : ความเจริญเข้ามาเยี่ยม วัฒนธรรมเก่า ๆ เริ่มหายไปทีละนิดจนคนที่อยู่ไม่รู้ตัวว่ามันหายไปเพราะเหตุใด เพราะอะไร
                    ทุกคนเริ่มอยากดูละคร เมื่อรับประทานอาหารเสร็จจะไปบ้านที่มีทีวีนั่งรอให้เจ้าของบ้านเปิดให้ดู อาศัยช่วงยังไม่เปิดได้พูดคุยกันบ้าง เมื่อเปิดละครทุกคนก้อจับจ้องไม่พูดคุยกัน เสาร์-อาทิตย์ เด็กๆ ก้อจะไปกระจุกแต่ที่บ้านที่มีทีวี จากเคยที่ไปช่วยเหลือพ่อแม่ทำนา ก้อเริ่มจะขี้เกียจ
ข้อคิด : คนเก่าแก่เริ่มจากไป
ความสะดวกสบายเข้ามาแทน
เงินทองเข้ามาเกี่ยวข้อง
ความพร้อมด้านทรัพยากรมาปิดบัง
ความรู้มาแทนที่
ความเห็นแก่ตัวเริ่มเข้ามา
สุดท้าย : คำว่า พี่น้องญาติ มิตร จะมีเฉพาะกลุ่มเครือญาติ ที่คอยดูแลกัน บ้านใกล้ เหมือนบ้านไกล เพราะต่างคนต่างอยู่
ศิลปะวัฒธรรมและประเพณี :
ด้านพุทธศาสนา การทำบุญทุกวันพระ การถือศีลหรือจำศีล การนิมนต์พระขึ้นบ้านใหม่ โกนจุก โกนผมไฟ
การก่อเจดีย์ทราย การเทศน์มหาชาติ การทำบุญเข้าพรรษา ออกพรรษา เป็นต้น
วันพระเราทุกคนจะไปวัดบางทีไปทั้ง พ่อทั้งแม่ พ่อแม่ต้องการให้ลูกได้ฟังธรรมะ ศาลาไม้หรือศาลาการเปรียญปัจจุบัน เต็มเพราะ บ้านประหูด ก้อมา บ้านหัวช้าง บ้านหัวเสือ บ้านตะโกหวาน หรือโคกคอกวัว สิ่งที่ประทับใจมาก ๆ คือ
การบรรเลงเพลงกลุ่มมโหรี ปี่ระนาด สด ต่างก้อจะถามสารทุกข์สุกดิบกันเสียงอื้ออึง ผสมเสียงดนตรีบรรเลง
หน้าเข้าพรรษา การห่อข้าวต้ม จะพากันตัดใบตอง มาตากแดดให้อ่อน บ้างก้อขวดมะพร้าว บ้างก้อใช้ใบมะพร้าวอ่อน ไว้ห่อแท่น ก้อจะหาเชือกปอ (ปอป่า)ส่วนมากจะเตรียมวันตั้งแต่หน้าเกี่ยวข้าวแล้ว

วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ประวัติของบ้านปังกู

                                                                           
                                                             บ้านปังกู
เรื่องเล่า
        ตั้งแต่จำความได้ ตั้งแต่ พ.ศ.2512 คุณย่าทิพย์เล่าให้ฟัง บ้านปังกูมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คนบ้านปังกูเคารพอย่างมาก คือ ตาบลังก์เป็นพื้นที่ไม่กี่ไร่ แต่ที่น่าแปลกคือ ไม่มีแม้กระทั้งเสียงนกร้อง ย่าเล่าให้ฟังว่า ที่แห่งนี้ แม้แต่นกบินผ่านยังตก จึงกลายเป็นป่าดงดิบโดยปริยาย ที่ใครไม่มีกิจอันใด ก้อไม่อยากเข้าไปเลย เมื่อมีงานที่วัด หรืองาน อะไรในหมู่บ้านก้อจะมาไหว้ ตาบลังก์ทุกครั้ง
ตาบลังก์ คือ อะไร
         ผมเองก้อไปดู เป็นเพียงก้อนหินสี่เหลี่ยม ไม่มีรูปปั้น ไม่มีตุ๊กตา อะไรทั้งสิ้น อยู่ในศาลา กลางห้องสี่เหลี่ยม ซึ่งเป็นที่เคารพและยึดเหนียวจิตใจคนบ้านปังกูตลอดมา
แหล่งน้ำธรรมชาติ
         แหล่งน้ำที่หล่อเลี้ยงคนบ้านปังกูสมัยนั้นมีด้วยกันหลายแห่ง คือ
              1. สระน้ำในวัดบ้านปังกู
              2. สระน้ำด้านทิศตะวันตกของหมู่บ้าน ( ตระเปียงตาโปย )
              3. บ่อน้ำลุงฮาด
              4. บ่อน้ำตาคอน
         ซึ่งบ้านปังกูเคยแล้งติดต่อกัน 2 ปีซ้อนที่ให้แหล่งน้ำที่มีแห้งหมด แม้กระทั้งสัตว์เลี้ยง วัว ควายก้อไม่มีน้ำกิน ดังนั้นแหล่งน้ำเล่านี้จึงเป็นที่ใช้ดื่มกินของคน และสัตว์เลี้ยงไปด้วยในขณะนั้น และบ่อน้ำที่เลี้ยงคนหลายหมู่บ้าน เช่นบ้าน เขว้า บ้านโคกวัด บ้านโคกย่าง บ้านห้วย บ้านหัวเสือ และบ้านปังกู คือ บ่อน้ำลุงฮาด เหยียบประโคน ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 2 กม.อยู่กลางทุ่งนา  ภายหลังเกิดภัยแล้งติดต่อกัน น้ำบาดาลในวัดพึ่งมาเจาะให้ภายหลังโดยกรมทรัพยากรธรณี
             
เทศกาลลอกบ่อน้ำกิน
           เมื่อมีภัยแล้งช่วงเดือนเมษายนของทุกปีเข้ามาเยือน น้ำประปาไม่มี ที่มีในขณะนั้นคือน้ำบาดาลที่วัดซึ่งกรมทรัพยากรธรณีได้มาเจาะให้ภายหลังแล้งติดต่อกันมา 2 ปี มีที่เดียว ที่อาศัยอาบ ต้องไปรอคิวกันนิดหนึ่งเพราะคนทั้งหมู่บ้าน บางคนที่อยู่ทางโรงเรียนก้อไปใช้น้ำสระตาโปย ทางทิศตะวันตกหมู่บ้านห่างประมาณครึ่งกิโลเมตร ทั้งน้ำกินน้ำใช้ ตาหวงมาก โรงเรียนก้อต้องไปเอาน้ำที่นั้นมากินกัน ตกตอนเที่ยงจัดเวรไปเอาน้ำ ฝั่งทางวัดจะใช้สระน้ำวัด ถ้าน้ำกิน ก้อบ่อน้ำตาคอน บ่อลุงฮาด
บ้านปังกูเราเคยแล้ง 2 ปีซ้อนติดต่อกัน บ่อน้ำที่สำคัญ เลี้ยงคนได้หลายหมู่บ้าน จึงมีที่เดียว คือ บ่อน้ำที่นาลุงฮาดดังที่เล่า ไม่น่าเชื่อที่สามารถเลี้ยง คนทั้ง บ้านปังกู บ้านเขว้า บ้านโคกวัด บ้านห้วย บ้านหัวเสือ บ่อน้ำนี้ไม่แห้ง มีตาน้ำใหญ่มาก ดังนั้นหมู่บ้านปังกูเรา พอจะเข้าหน้าแล้งจะลงแขกกัน ไปลอกบ่อน้ำ สองแห่ง คือบ่อของตาคอน กับ บ่อลุงฮาด เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม ในเรื่องการใช้น้ำ เรามีอาหารการกินเยอะ ต่างเรียรายบอกกล่าว ถึงวัตถุประสงค์ ที่จะใช้เงินเพราะของกินสมัยนั้นแทบไม่ต้องซื้อเลย เว้นเหล้า 40 เหล้า สาโธบางคนจะทำไว้แล้วมาแจกกันกินวันลอกบ่อกัน เป็นเรื่องที่ปกติ คือการหาบน้ำกินน้ำใช้กัน เด็กผู้หญิง ผู้ชายก้อหาบน้ำเป็น ระยะทางจากบ่อลุงฮาด ถ้าท่านเคยเห็น คิดว่าประมาณ 2-3 กม. เห็นจะได้ บ้านไกลจะใช้เกวียนมาขน บางคนหาบไม่หยุดเลย แต่ผมไม่ไหว หยุดประมาณ 3 ครั้ง ถึงบ้าน นี่คือวิถีชิวิตของการหาแหล่งกักเก็บน้ำของคนบ้านปังกูในสมัยนั้น ต่างอยู่ด้วยความรักสมัครสมานสามัคคี มีอะไรจุลเจือ      ดังนั้นภายหลังที่มีถนนลูกรังจากบ้านปังกูไปบ้านเขว้า,ไปประโคนชัย การขนน้ำเริ่มมีการพัฒนาขึ้นใช้รถเข็นสำหรับคนที่พอมีอันจะกิน จะเห็นได้ว่าสมัยนั้นการที่จะซื้ออะไรแต่ละอย่างค่อนข้างละลำบาก

การคมนาคมบ้านปังกู
             เส้นทางสมัยนั้นจะใช้เกวียนเป็นหลัก ถ้าหน้าฝนจะกลายเป็นคลองส่งน้ำโดยปริยาย
( ปลาย )ความลำบาก คือ กลางหมู่บ้านนี่แหละ ลงสี่แยกเมื่อไหร่ ก้อแสนทรมานแล้วละ แยกลงไปทางห้วย (ทิศเหนือ) จะเห็นว่าเป็นทางลง สมัยนั้นขี้โคลนลึกมาก วัวควาย ยังเดินลำบากเกวียนก้อสุดแสนจะทรหด ทางออกหมู่ไปทางหัวช้าง(ทิศใต้) ก้อลงเนินเหมือนกัน แต่ทางนี้โคลนไม่ลึกมากเท่าไหร่ พอเดินได้ พ้นหมู่บ้านเป็นคลอง และป่าทึบ ทิศตะวันออกเส้นทางไปบ้านเขว้า เป็นคลอง

อ้างถึง
         จากประสบการณ์ผู้เขียนเองเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นจึงเป็นประสบการณ์ และวิถีชีวิตตรงในสมัยนั้นของผู้เขียนเอง ที่มีส่วนร่วมกิจกรรม และประจักด้วยสายตา และประสบด้วยตนเอง จากปี พ.ศ.2512 -2535 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตชุมชนคนชนบท สู่ชุมชนคนเมือง
Google