วันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ชมบรรยายกาศข้างบ้าน ระยะเวลาที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

ก่อนลงจากบ้านไปเดินชมบรรยากาศข้างหมู่บ้าน

ศาลตาบลังค์สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้านปังกู ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ว่าสภาพ โยรอบศาลจะเปลี่ยนไปอยากมากก้อตามแต่สิ่งที่ยังคงไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ดู ได้เห็น คือก้อนหินในศาลฯ นั้นเอง ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายที่ไม่สามารถหาภาพบรรยายกาศเก่ามาให้ดูได้ เดิมศาลนี้เป็นศาลขนาดใหญ่พอสมควรมีชานยื่นออกมาด้านหน้า ยกพื้นสูงประมาณครึ่งเมตร ปัจจุบันสภาพอย่างที่เห็น

ด้านหน้าศาล

มุมใกล้ ๆ



สิ่งที่ยังคงให้เห็นคือ ต้นมะขาม ต้นนี้ครับที่ยังคงตืนความจำ และเตือนใจให้คิดถึงอดีตเก่า ๆ ที่พากันปีนขึ้นไปเก็บลูกมะขาม อย่างสนุกสนาน

มุมใกล้ ๆ ต้นมะขาม ตั้งแต่จำความได้เห็นต้นมะขามนี้ต้นขนาดนี้แล้ว เพราะฉะนั้น มันคือ ต้นไม้ที่มีอายุยืนนานที่ยังคงไว้ให้เราได้เห็น ไม่กลายเป็นถ่านไป เราควรที่จะอนุรักษ์ไว้อย่างยิ่ง

และแล้วก้อมีศาลาเพิ่มมาแทนป่า เพียงเวลาไม่ถึงปีที่ผู้เขียนได้ไปเดินเล่น


เส้นทางจากหมู่บ้านไปศาลตาบลังค์

จากนั้นจะพาชมทุ่ง ต้นตาลที่ยืนต้นเรียงรายดูสวยงามในอดีต ปัจจุบัน เห็นอย่างที่เห็น


พามาดูหนองน้ำ เรียก หนองถนนยืนยันว่าผู้เขียนเกิดมาก้อได้ยินชื่อนี้แล้ว สมัยนั้นขุดแรงคนในหมู่บ้าน และหมู่บ้านละแวกใกล้เคียง กว้าง 2X1 ลึก 1 เมตร สมัยนั้นหลุ่มละ 60 บาท แพงมาก เพราะเงิน สลึงยังมีค่า ซื้อขนมได้ ที่พูดเพราะผู้เขียนเองยังรับจ้างขุดด้วย แต่สภาพที่เห็นปัจจุบันได้มีการขุดลอกใหม่โดยเครื่องจักรกล สภาพอย่างที่เห็น
มุมข้าง ๆ หนองน้ำ





 สภาพต้นจานที่เคยปีนขึ้นกระโดดลงมาในหนองน้ำ ดีที่ยังเหลือต้นเล็กๆๆ ให้เห็น



ป้ายงบประมาณที่ได้จัดสรร




วันเสาร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

สังคม การเมือง วัฒนธรรม กับการเปลี่ยนแปลง

สังคมชนบท
     กล่าวทั่วไปเป็นสังคมที่อ่อนโยน มีความเป็นกันเอง มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง เป็นสังคมที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันละกัน สำหรับเราคนชนบทหรือที่คนเมืองเรียก "คนต่างจังหวัด" ถ้าคำตลาด คือ คนบ้านนอก นั้นเอง ในหมู่บ้านก้อแบ่งเป็นคุ้ม คุ้มเหนือ คุ้มใต้ คุ้มวัด คุ้มโรงเรียน ตามบริบท แต่คนจะเีรียก ความใกล้ ไกล เรามีการแบ่งปันอาหารการกิน เหมือคำโบราณที่ว่า ปลาตัวเดียวกินได้ทั้งปี เหตุผล เพราะเรามีการแบ่งปันกันและกัน คนข้างบ้านได้ปลามาแบ่งเรากิน พอเราได้แบ่งนั้นคือวิถีชีวิตของคนชนบทบ้านปังกูในอดีตเมื่อ 30ปี นับตั้งแต่จำความได้ (2512)เป็นต้นมา เรามีการดูแลกันและกันทั้งยามเจ็บป่วย คอยช่วยเหลือกัน สมัยนั้นการเดินทางไปโรงพยาบาลต้องเกวียนเท่านั้น ไม่มีถนน ไปตามคลองส่งน้ำสมัยก่อน แต่เราก้อมีความสุข ยามค่ำกินข้าว เสร็จจะจุดตะเกียงน้ำมันก๊าด นัง่คุยกันแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ถามสารทุกข์ สุกดิบ จนดึกแล้วก้อแยกย้ายเข้านอน เมื่อมีงานบุญ งานบวช งานแต่ง งานศพ ฯลฯ จะช่วยกันอย่างเต็มที่ หนุ่มสาว ไปเข็นน้ำที่วัด สมัยนั้นไม่มีปะปา ไม่มีน้ำบาดาลในหมู่บ้าน มีที่วัดที่เดียว
การเมือง
      การเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อาศัยเสียงส่วนใหญ่ไม่มีกาคะแนน ไม่มีการซื้อเสียง คนที่ถูกเลือกให้เป็นส่วนใหญ่คือ เคยเป็นทหารมาก่อน เพราะมีลักษณะความเป็นผู้นำ นั้นคือความคิดสมัยนั้น แต่ที่น่าแปลกคือการเลือก สส. หรือสมาชิกสภาผู้แทน ได้มีการซื้อเสียงแล้วในสมัยนั้น หัวละ 20 บาท ต่อคน หัวคะแนนเดินแจกถึงทุ่งนา ถ้าหน้าดำนา ขยันมาก แล้วรัฐธรรมนูญไม่ได้ช่วยอะไรในการทำนา ไม่ได้นอนแบกประชาธิปไตย หรือกินประชาธิปไตย เพราะชาวไปนา เย็นกลับบ้าน ชีวิต วนแค่นี้
วัฒนธรรม
     การเคารพ การให้เกียรติ เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะการกระทำอะไรที่เป็นสิ่งไม่ดีไม่งามจะรู้กันทั้งหมู่บ้าน ตั้งแต่การ เดินผ่านผู้ใหญ่ การไหว้ การแต่งกาย การพูด การทำงาน ถือเป็นเรื่องสำคัญทีบ่งบอกถึงการสั่งสอนอบรม และตระกูล
     ด้านการทำงาน จะงดใช้แรงงาน วัว ควาย วันพระ เข้าพรรษา จะหยุดทำงานเข้าวัดฟังธรรม การลงแขก ในการช่วยเหลือกันและกัน แรกนาขวัญหลังจากในหลวงลงแรกนาขวัญแล้ว
     ด้านการแต่งกาย ผู้หญิงจะนั่งผ้าถุงหรือผ้าสิ้น เสื้อคอปก แขนสั้น คนแก่ถ้าไปวัดจะมีผ้าสไบเฉียงพาดบ่า ทั้งหญิงและชาย
Google