วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2565

เรื่องเล่าบ้านปังกู สักวันจะลืมหายไป

ประวัติความเป็นมาบ้านปังกู 
           ปังกู เป้นต้นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง ที่มีลูกคล้ายลูกมะไฟ รสชาติหวานอมเปรี้ยว ทวดเล่าให้ฟังว่าแต่ก่อนนั้นบ้านปังกูนั้นมีต้นปังกูเยอะมาก พอมาถึงประมาณปี 2524 ต้นปังกู จึงเหลือเพียงต้นเดียว และย่าทวด บอกนี่แหละต้นปังกู เอกลักษณ์บ้านปังกู คือดอกปังกูประดับอยู่ที่ป้ายของหมู่บ้าน ปัจจุบันต้นปังกูจึงเหลือแต่ชื่อให้คนรุ่นหลังได้ยิน และมันกำลังจะถูกแปลความหมาย ออกไปตามความเข้าใจของคนรุ่นหลัง ๆเพราะคนรุ่นหลัง จากต้นไม้กลายเป็นอย่างอื่นเพราะความสับสนหรือ เอาแนวความนึกคิดของตนเองไปประติดประต่อกับภาษาท้องถิ่น ดังนั้น ปังกู เป็นต้นไม้ที่มีจำนวนมาก จนเค้าเรียกกันติดปากว่า บ้านปังกู (เสราะปังกู ) จะเห็นได้ว่าสมัยแต่ก่อนการจะเรียกชื่อหมู่บ้าน ตามจำนวนต้นไม้ หรือประเภทต้นไม้ สัตว์ สภาพพื้นที่และคนที่เริ่มก่อตั้งคนแรก โดยจะคิดจุดเด่น จุดดังของหมู่บ้าน เพื่อเรียกง่ายและเข้าใจได้ว่า ณ บริเวณตรงนั้นเป็นอะไรนั้นเอง  ซึ่งมันสมองและภูมิปัญญาของคนรุ่นก่อนคือความเป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้านชนิดหนึ่งที่เราควรศึกษา ไม่ใช่ในปัจจุบัน ที่พากันตั้ง ชื่อสวยหรู่ โดยไม่รู้ อัตลักษณ์ของความเป็นจริงของรากง้าว ของชุมชนดังเดิม  เพราะการตั้งชื่อที่เปลี่ยนแปลงจากเดิม หรือที่เป็นจุดเด่นของหมู่บ้าน ที่แท้จริง เป็นการทำลายอัตลักษณ์ดั้งเดิมที่น่าเสียใจ เพราะการตั้งชื่อหมู่บ้านเป็นการสื่อวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ และความสมบูรณ์ของธรรมชาติที่สร้างไว้ เมื่อได้ยินชื่อทุกคนจะเข้าใจสมัยแต่ก่อนมีอะไร  จะเห็นได้ว่าปัจจุบันแม้แต่การตั้งชื่อ หมู่บ้านยังถูกกลืนไปโดยปริยาย จนหาอะไรที่เป็นจุดเด่นไม่ได้  เมื่อคนได้ยินจะไม่ต้องแปลอะไรให้มันหลากหลาย หรือคิดให้มากความ เช่น บ้านหัวเสือ บ้านตะโกหวาน บ้านประหูด บ้านหนองบัวโคก บ้านเขว้า บ้านโคกสะอาด บ้านโคกใหญ่ บ้านห้วยปอ บ้านห้วย บ้านจรเข้ามาก บ้านเมืองต่ำ หรือแม้แต่หนองน้ำ ก้อเช่นกัน ใกล้ที่นาใคร ๆอยู่ใกล้แถวนั้นจะเรียกชื่อคนนั้น จนติดปาก นี่คือจุดเด่นที่คนเก่าคนแก่สร้างไว้ เมื่อใครมาถามจะรู้จักว่าอ้อมันอยู่ตรงนั้น ตรงนี้ แต่ปัจจุบันกลับสรรหาคำสวยหรู่ มาเรียกจนจุดเด่นหาย อัตลํกษณ์หายไป เลยไม่รู้หมู่บ้านแห่งนี้มีความเป็นมาเป็นไปอย่างไร คืออะไรแน่ 
ลักษณ์ภูมิศาสตร์
              บ้านปังกู เป็นโคก เหมือนกระทะคว่ำ  มีคลองส่งน้ำทิศเหนือกับทิศใต้ของหมู่บ้าน จุดสูงสุดของหมู่บ้านปังกูคือสี่แยกบ้านปังกู ที่ชันที่สุด คือ ทางออกไปบ้านห้วย อีกสามเส้นทางความชันเท่ากัน ทุกเส้นทางคือทางเกวียน ยังไม่ป็นถนนลูกรัง ในช่วงฤดูฝนจะมีน้ำท่วมเฉพาะวัดบ้านปังกู 
ด้านการปกครอง
           บ้านปังกู เป็นตำบลที่ใหญ่ที่สุด มีอาณาเขตการปกครองหลายหมู่บ้าน เช่น บ้านเขว้า บ้านโคกวัด บ้านหนองหัวเสือ บ้านหัวช้าง บ้านประหูด บ้านตะโกหวาน  บ้านโคกสะอาด บ้านบัวโคก บ้านโคกใหญ่ บ้านห้วยปอ บ้านภาชี บ้านหนองน้ำขุน บ้านไพรวัลย์ บ้านโคกกลอย บ้านโนนศิลา บ้านโนนสุวรรณ บ้านเขาคอก(ก่อนแยกเป็นตำบลเขาคอก) แต่ประวัติศาสตร์ตั้งแต่ตั้งหมู่บ้านมาจนถึงปัจจุบัน (2567) บ้านปังกููไม่เคยมีใครได้เป็นกำนัน 
ด้านการคมนาคม 
           การเดินทางจะเป็นการเดินทางด้วยเกวียนเป็นหลัก ทั้งการติดต่อกันระหว่างหมู่บ้าน และการไปทำไร่ ทำนา เช่น ทางไปอำเภอประโคนชัย บ้านหัวเสือ บ้านหัวช้าง บ้านโคกสะอาด บ้านโคกกลอย บ้านบัวโคก บ้านภาชี บ้านโนนศิลา ามอุดมสมบูรณ์ที่หายไปอย่างรวดเร็ว : เมื่อความเจริญเข้ามาถึง นั้นคือการสร้างถนนจากบ้านปังกูไป บ้านโคกสะอาด ถนนเส้นนี้สร้างด้วยน้ำพักน้ำแรงของพี่น้อง คนในละแวกนั้น มิใช่ใช้เครื่องจักรในปัจจุบัน กว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร ราคา 110 บาท ซึ่งแทบไม่น่าเชื่อจนกลายเป็นถนนที่มีระยะทางหลายกิโล ซึ่งผู้เขียนเองได้มีส่วนร่วมในการสร้างถนนเส้นนี้เช่นกัน จากนั้นก้อมีเส้นทางไปบ้านหัวเสือ ไปบ้านประหูด และจากบ้านประหูดไปบ้านธาตุ จึงมีความภาคภูมิใจว่าเรามีส่วนนำความเจริญมาสู่บ้านเรา แทนที่จะขับเกวียน ไปบ้านหัวเสือ ไปบ้านหนองบัวโคก หรือไปบ้านประหูดที่ดูไกล แสนไกลก้อ ใกล้เข้ามาที่ผ่านแต่ป่า เราก้อมีถนน วัฒนธรรมความน่าสนใจคนบ้านปังกู :
Google